แนวโน้มการผลิตและการตลาดของถั่วเหลือง

 

แนวโน้มการผลิตและการตลาดของถั่วเหลือง ปี 2564

  1. ของโลก
    • การผลิต

                   ปี 2563/64 คาดว่าผลผลิตถั่วเหลืองของโลกมีปริมาณ 362.64 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 336.69 ล้านตัน ในปี 2562/63 ร้อยละ 7.71 โดยในปี 2563/64 คาดว่าประเทศผู้ผลิตสำคัญ 3 ลำดับแรก ได้แก่ บราซิล สหรัฐอเมริกา และอาร์เจนตินา มีผลผลิตรวม 297.50 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 82.04 ของผลผลิตโลก

  • การตลาด
  • ความต้องการใช้

                    ปี 2563/64 คาดว่าความต้องการใช้ถั่วเหลืองเพื่อสกัดน้ำมันของโลกมีปริมาณ 320.89 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 308.27 ล้านตัน ในปี 2562/63 ร้อยละ 4.09 เนื่องจากความต้องการใช้น้ำมันถั่วเหลืองเพื่อการอุปโภคและการบริโภคของโลกยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น สำหรับสต๊อกถั่วเหลืองโลกมีปริมาณ 86.52 ล้านตัน ลดลงจาก 95.34 ล้านตัน ในปี 2562/63 ร้อยละ 1.25

  • การส่งออก

                   ปี 2563/64 คาดว่าการส่งออกถั่วเหลืองของโลกมีปริมาณ 167.82 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 164.67 ล้านตัน ในปี 2562/63 ร้อยละ 1.91 โดยประเทศผู้ส่งออกรายใหญ่ ได้แก่ บราซิล สหรัฐอเมริกา และอาร์เจนตินา

  • การนำเข้า

                    ปี 2563/64 คาดว่าราคาเมล็ดถั่วเหลืองในตลาดโลกจะปรับตัวสูงขึ้นจากปีที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการใช้ถั่วเหลืองเพื่อสกัดน้ำมันของโลกเพิ่มขึ้น

  • ราคา

                    ปี 2563/64 คาดว่าราคาเมล็ดถั่วเหลืองในตลาดโลกจะปรับตัวสูงขึ้นจากปีที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องกรใช้ถั่วเหลืองเพื่อสกัดน้ำมันของโลกเพิ่มขึ้น

  1. ของไทย
  • การผลิต

                 ปี 2564/65 คาดว่าผลผลิตและเนื้อที่เพาะปลูกใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา โดยปี 2564/65 คาดว่ามีเนื้อที่เพาะปลูก 0.106 ล้านไร่ ผลผลิต 28,803 ตัน เพิ่มขึ้นจาก 0.105 ล้านไร่ ผลผลิต 28,223 ตัน ในปี 2563/64 ร้อยละ 0.95 และร้อยละ 2.00 เนื่องจากมีปริมาณน้ำที่เพียงพอทำให้เกษตรกรหันมาปลูกถั่วเหลืองเพื่อเป็นการเพิ่มรายได้และบำรุงดิน  

  • การตลาด
    • ความต้องการใช้ในประเทศ

                   ปี 2564 คาดว่าความต้องการใช้เมล็ดถั่วเหลืองมีปริมาณ 3.83 ล้านตัน โดยมีสัดส่วนการใช้ผลผลิตภายในประเทศ     ร้อยละ 0.75 และนำเข้าร้อยละ 99.25 ของปริมาณความต้องการใช้ทั้งหมด โดยใช้ในอุตสาหกรรมสกัดน้ำมัน อาหารสัตว์ และแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหาร ร้อยละ 67 ร้อยละ 30 และร้อยละ 3 ตามลำดับ

  • การส่งออก

                ปี 2564 คาดว่าปริมาณการส่งออกเมล็ดถั่วเหลืองของไทยลดลงจากปี 2563 เนื่องจากผลผลิตถั่วเหลืองในประเทศมีปริมาณลดลง

  • การนำเข้า

                ปี 2564 คาดว่าการนำเข้าเมล็ดถั่วเหลืองมีปริมาณ 3.80 ล้านตัน เพิ่มขึ้นตามความต้องการใช้ของภาคอุตสาหกรรมภายในประเทศโดยเฉพาะอุตสาหกรรมสกัดน้ำมัน

  • ราคา

                ปี 2563 คาดว่าราคาเมล็ดถั่วเหลืองที่เกษตรขายได้ใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา

 

ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการนำเข้าถัวเหลือง

                จากการเกิดภาวะภัยแล้ง ทำให้ผลผลิตถั่วเหลืองของประเทศผู้ผลิตสำคัญอย่างสหรัฐอเมริกามีปริมาณลดลง ประกอบกับความต้องการใช้เมล็ดถั่วเหลืองเพื่อสกัดน้ำมันของโลกเพิ่มขึ้น เนื่องจากสถานการณ์การเกิดโรคระบาดในสุกรคลี่คลาย ทำให้ราคา      ถั่วเหลืองในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งอาจส่งผลให้ต้นทุนผู้ประกอบการของไทยสูงขึ้น

 

………………………………………………………………………………………………….

 

ที่มา : สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร, สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร,Office of Agricultural Economics, สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญและแนวโน้ม ปี 2564, หน้า 57 – 58

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

You may have missed