ดร.ฉวีวรรณ คำพา ร่วมงานประเพณีสลากภัตและทอดผ้าป่าสามัคคี ณ.วัดสวนดอก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 21 ตุลาคม 2566
21 ตุลาคม 2566 เวลา 09.00 – 15.00 น. ณ.วัดสวนดอก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ จัดงานสลากภัต ประจำปี 2566 และทอดผ้าสามัคคี โดยมีพระเทพมังคลาจารย์ (สมาน กิตฺติโสภโณ)เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ เจ้าอาวาสวัดท่าตอน ประธานสงฆ์ และ พระราชรัชมุนี เจ้าอาวาสวัดสวนดอก รองเจ้าคณะจังหวัด จ.เชียงใหม่ พระครูปลัดคุณวัฒน์ ดร. ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง วัดสวนดอก,เลขานุการรองเจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่,
ผู้รักษาการเจ้าอาวาสวัดสันปูเลยสะหลีเวียงแก้ว ทางด้าน ดร.ฉวีวรรณ คำพา ประธานผ้าป่าสามัคคี สมทบทุนการศึกษา ร่วมบุญ จำนวน 4 แสนบาทถ้วน ให้วัดสวนดอก เพื่อนำไปเป็นทุนการศึกษา ให้กับพระเณร อีกด้วย และมีประชาชนจำนวนมาก มาร่วมบุญ นำกองสลากภัต แต่ละหมู่บ้านแต่ละตำบล หน่วยงาน ละกอง มาร่วมกัน 100 กว่ากอง เพื่อนำเงินเหล่านี้ จับฉลาก ให้กับวัดแต่ละวัด หรือพระสงฆ์ที่มาร่วมงาน ได้จับสลากภัต เพื่อนำเงินและของกินของใช้ ไปใช้จ่ายในยามจำเป็นต่อไป
ประเพณีตานก๋วยสลาก หรือสลากภัต คือ การถวายเครื่องไทยทานแก่พระภิกษุสามเณร โดยไม่เจาะจงผู้รับเป็นประเพณีนิยมที่สืบทอดกันมาช้านานของชาวล้านนาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยทั่วไปจะเริ่มราววันเพ็ญเดือน ๑๒ เหนือ หรือประมาณเดือนกันยายน และสิ้นสุดในเดือนเกี๋ยงดับหรือประมาณเดือนตุลาคมของทุกปี
โดยมีประวัติความเป็นมาดังนี้ ในสมัยพุทธกาล ขณะที่พระพุทธเจ้าประทับ ณ พระเชตวันมหาวิหารนั้น วันหนึ่งนางกุมารีผู้หนึ่งได้อุ้มลูกชายวิ่งหนีนางยักขินีผู้มีเวรต่อกันหลายชาติแล้ว ติดตามมาจะทำร้ายลูกของนาง นางเห็นจวนตัวจะวิ่งหนีไปที่อื่นไม่ได้ จึงพาลูกวิ่งเข้าไปในวัดพระเชตวัน ในพระวิหารขณะที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมอยู่นางเอาลูกน้อยวางแทบพระบาทแล้วกราบทูลว่า “ข้าแด่พระองค์ผู้เจริญ ขอทรงโปรดเป็นที่พึ่งแก่ลูกชายของหม่อมฉันเถิดพระเจ้าข้า” พระพุทธเจ้าหยุดพฤติกรรมที่จองเวรของนางกุมาริกา และนางยักษ์ขินีด้วยการตรัสคำสอนว่า “เวรย่อมไม่ระงับด้วยเวร” แล้วทรงให้นางทั้งสองเห็นผิดชอบชั่วดี นางยักษ์ขินีรับศีล ๕ แล้วนางก็ร้องไห้สะอึกสะอื้น กราบทูลพระพุทธเจ้าว่านางไม่รู้จะไปทำมาหากินอย่างไรเพราะรักษาศีลเสียแล้ว นางกุมาริกาจึงรับอาสาจะพานางไปอยู่ด้วย นางได้รับอุปการะจากนางกุมาริกาหลายประการ นึกถึงอุปการะอยากจะตอบแทนบุญคุณ
จึงเป็นผู้พยากรณ์บอกกล่าวเรื่อง ลมฟ้าอากาศ คือ บอกให้นางกุมาริกาทำนาในที่ดอนในปีฝนมาก ทำนาในที่ลุ่มในเวลาฝนแล้ง นางกุมาริกาได้ปฏิบัติตามทำให้ฐานะร่ำรวยขึ้น คนทั้งหลายมีความสงสัยจึงมาถามหาสาเหตุ นางจึงบอกว่า นางยักษ์ขินีเป็นผู้บอกกล่าวให้ คนทั้งหลายจึงพากันไปหานางยักษ์ขินีขอให้พยากรณ์ให้ตนบ้าง คนทั้งหลายได้รับอุปการะจากนางยักษ์ขินีจนมีฐานะร่ำรวยไปตามๆ กัน ด้วยความสำนึกในบุญคุณ จึงพากันนำเอาเครื่องอุปโภคบริโภคอาหารการกินเครื่องใช้สังเวยเป็นอันมาก นางจึงนำมาทำเป็นสลากภัต โดยให้พระสงฆ์กระทำการจับตามเบอร์ด้วยหลักของอุปโลกนกรรม คือ ของที่ถวายมีทั้งของมีราคามาก ราคาน้อย พระสงฆ์องค์ใดได้ของมีค่าน้อยก็อย่าเสียใจ ให้ถือว่าเป็นโชคของตนดีหรือไม่ดี การถวายแบบจับสลากของนางยักษ์ขินีนี้นับเป็นครั้งแรกแห่งประเพณีทำบุญสลากภัต หรือทานสลากในสมัยพุทธกาลนั้นเอง