พิธีรับพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช แต่งตั้งเจ้าอาวาสวัดใหญ่อินทาราม “สมเด็จธงชัย” ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดไตรมิตรฯ กรรมการมหาเถรสมาคม (มส.) เจ้าคณะใหญ่หนกลาง เป็นประธานมอบพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช แต่งตั้งที่ เจ้าอาวาสพระอารามหลวง และผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ในเขตปกครองคณะสงฆ์หนกลาง พร้อมย้ำภิกษุสงฆ์ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย-พระวินัย-จารีต  18 มีนาคม 2565 เวลา 14.00 น

“สมเด็จธงชัย” ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดไตรมิตรฯ กรรมการมหาเถรสมาคม (มส.) เจ้าคณะใหญ่หนกลาง เป็นประธานมอบพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช แต่งตั้งที่ เจ้าอาวาสพระอารามหลวง และผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ในเขตปกครองคณะสงฆ์หนกลาง พร้อมย้ำภิกษุสงฆ์ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย-พระวินัย-จารีต
เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2565 เวลา 14.00 น. สมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี (ธงชัย ธมฺมธโช) หรือ “สมเด็จธงชัย” ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยาราม กรรมการมหาเถรสมาคม (มส.) เจ้าคณะใหญ่หนกลาง เป็นประธานมอบพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช แต่งตั้ง เจ้าอาวาสพระอารามหลวง และผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ในเขตปกครองคณะสงฆ์หนกลาง
จากนั้น สมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี ให้โอวาท ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริ ให้แต่งตั้ง พระชัยสิทธิสุนทร (วรนัยน์) ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดใหญ่อินทาราม อ.เมือง จ.ชลบุรี โดยมีนายภัครธรณ์ เทียนไชย ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี ,นายวิทยา คุณปลื้ม นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรีและนางสิริลดา คุณปลื้ม ,ร้อยเอก ดร.จองชัย วงศ์ทรายทอง ส.ส.เขต 2 ชลบุรี ,ดร.ฉวีวรรณ คำพา นายกสมาคมส่งเสริมการเลี้ยงไก่แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และประธานกรรมการผู้บริหารบริษัทฉวีวรรณ กรุ๊ป จำกัด เข้าร่วมงานพิธีในครั้งนี้
ทั้งนี้ พระชัยสิทธิสุนทร มีนามเดิมว่า วรนัยน์ พุทธเจริญ เกิดเมื่อวันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๑๓ การศึกษานักธรรมชั้นเอก
พ.ศ. ๒๕๔๔ สำเร็จ ปริญญาศาสนศาสตรบัณฑิต (ศน.บ.) มหาวิทยาลัยมหิดล
พ.ศ. ๒๕๔๘ สำเร็จ ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา (กศ.ม.)
พ.ศ. ๒๕๔๙ สอบได้ เปรียญธรรม ๓ ประโยค
พ.ศ. ๒๕๕๖ สำเร็จ ปริญญาพุทธศาสตรบัณฑิต (พธ.บ.) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
"สมเด็จธงชัย" “ขอฝากข้อคิดสำคัญ ให้ได้ตระหนักและระลึกถึงพระนิพนธ์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ความว่า ภิกษุสงฆ์ แม้มีพระวินัย เป็นกฎหมายสำหรับตัวอยู่ส่วนหนึ่งแล้ว ก็ยังจะต้องอยู่ในใต้อำนาจแห่งกฎหมายฝ่ายอาณาจักรอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งตราไว้เฉพาะหรือเพื่อคนทั่วไป และยังควรอนุวัตจารีตของบ้านเมือง อันไม่ขัดต่อกฎหมายสองประเภทนั้นอีก สรุปความ ภิกษุสงฆ์มีกฎหมายอันจะพึงฟังอยู่ 3 ประเภท คือ กฎหมายแผ่นดิน 1 พระวินัย 1 จารีต 1” เจ้าคณะใหญ่หนกลาง กล่าว

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

You may have missed