สะพานสกายวอล์ค แลนด์มาร์ค3 แผ่นดิน แห่งแรก จ.เชียงราย ณ.วัดพระธาตุผาเงา อ.เชียงแสน ชมวิวลำน้ำโขง
21 ต.ค.2565 เวลา 09.00 น. พระพุทธิญาณมุนี เจ้าคณะจังหวัดเชียงราย เจ้าอาวาสวัดผาเงา อ.เชียงแสน จ.เชียงราย พร้อมด้วย ดร.ฉวีวรรณ คำพา นายกสมาคมส่งเสริมการเลี้ยงไก่แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปภัมภ์ ฉวีวรรณ กรุ๊ป ได้เดินทางมา ร่วมทดลอง เปิดใช้สกายวอล์ค เป็นวันแรก เพื่อจะเปิดใช้จริง และร่วมบันทึกรายการส่องธรรม ทางช่อง5 กับ ดร.ฉวีวรรณ คำพา และพระครูญาณประยุต เจ้าอาวาสวัดเขาตะแบก จ.ชลบุรี
มีนักท่องเที่ยวราว 1,000 คน แห่ขึ้นชมสกายวอล์คแห่งแรกที่ บนยอดดอยวัดพระธาตุผาเงา อ.เชียงแสน จ.เชียงราย และ คอยติดตาม สกายวอล์ค แห่งที่ 2. ณ. วัดพระธาตดอยเวา อ.แม่สาย ส่วนแลนด์มาร์คแห่งแรก คือวัดพระธาตุผาเงา ของจังหวัดเชียงราย ซึ่งมีความสูง 30 เมตร ทางเดินพื้นเป็นกระจก มีความกว้าง 3.20 เมตร สามารถรับน้ำหนักได้ถึง 1,200 กิโลกรัม นักท่องเที่ยวสามารถขึ้นไปยืนบนสกายวอล์คได้ถึง 100 คน ตามที่นายช่างบอกมา
ซึ่งวันนี้ทางวัดพระธาตุผาเงา ได้ทำการทดลองเปิดวันแรก ให้นักท่องเที่ยวได้เดินบนกระจกใส่ ท้าทายความกล้า เดินบนพื้นกระจกใส่ จะทดลองเปิดถึงวันที่ 24 ต.ค. และจะเปิดอีกครั้ง อย่างเป็นทางการในวันที่ 27 ต.ค. ซึ่งระเบียบการขึ้นไปเดินบนสกายวอล์ค ให้นักท่องเที่ยวจอดรถ ไว้ที่ลานจอดรถด้านล่าง แล้วให้ขึ้นรถของทางวัด ที่จัดเตรียมไว้ให้ในราคา คนละ 30 บาท รวมทั้งไปทั้งกลับ เพื่อลดความแออัดสถานที่จอดรถด้านบน มีค่าบริการเดินบนสกายวอล์ด พร้อมถุงเท้าสวมเดินเข้าคนละ 40 บาท
ซึ่งวันนี้ มีนักท่องเที่ยว ทดลองมาเดินบนสกายวอล์คเป็นวันแรก สร้างความหวาดเสียว ขาสั่นไปตามๆกัน อีกทั้ง ไม่เพียงแต่นักท่องเที่ยวจะได้ถ่ายรูปเซลฟี่ เดินบนกระจกใสแล้ว ยังมีอีกไฮไลท์ ที่ถ่ายรูปเซลฟี่คู่ต้นซากูระเทียม 2 ต้น ที่บ่งบอกถึงความหนาวเย็น ของภาคเหนือ ซึ่งมีนักท่องเที่ยวให้ความสนใจ แห่ถ่ายรูปเซลฟี่คู่กับตนซากูระ เป็นจำนวนมาก ซึ่งการเดินบนทางกระจกใส สร้างความหวาดเสียวไม่พอ
นักท่องเที่ยวยังสามารถชม มองมุมสูงลงมา เห็นชุมชนและวัฒนธรรมชาวเชียงแสน และยังมองเห็นวิวทิวทัศน์ 360 องศา ของแม่น้ำโขง ยาวสุดสายตา รวมไปถึงมองเห็นฝั่ง สปป.ลาว ซึ่งในช่วงเช้าด้านบนสกายวอล์ค จะมีอากาศเย็น มีลมโกรกตลอดทั้งวัน ทั้งนี้จากการสอบถามนักท่องเที่ยว ทราบว่า บางคนที่ไม่เคยเดินบนสกายวอล์ค กระจกใส ซึ่งได้มาทดลองเดินเป็นครั้งแรก ทำให้ก้าวขาเดินไม่ได้ บางรายกลัว ก็กลัว แต่ก็อยากชม ต้องพยายามตามโครงเหล็ก เพื่อลดความกลัว เพื่อความปลอดภัยและสะดวก ให้ประชาชนใช้งานดังกล่าว